PITSANU.NET : การจัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะชำนาญการ, ชำนาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญ
การทำผลงานทางวิชาการทุกประเภทต้องมีการศึกษาเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง เริ่มตั้งแต่ทำการค้นคว้า รวบรวม เรียบเรียง สรุป วิเคราะห์ และอาจสังเคราะห์ด้วยก็ได้ ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงสาระโดยสรุปของแต่ละหัวข้อ ดังนี้
ผลงานทางวิชาการ คืออะไร
ผลงานทางวิชาการได้รับการกล่าวถึงกันมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้ให้ความสนใจกันมาก โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการทำผลงานเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ รวมทั้งนิสิตนักศึกษาที่ต้องทำประกอบหลักสูตรการเรียนการสอน การจะทำผลงานสักครั้งดูเหมือนเป็นสิ่งน่ากลัว เพราะได้ฟังคำเล่าลือมาเสมอว่าเป็นเรื่องยาก
การแบ่งประเภทของผลงานทางวิชาการ อาจมีจำนวนประเภทต่างกันไปตามที่หน่วยงานกำหนดขึ้น บางหน่วยงานก็กำหนดไว้หลายประเภท เช่น เอกสารประกอบ การสอน ตำรา หนังสือ งานวิจัย งานประเมิน งานแปล และสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งบางประเภทมีความคล้ายคลึงกันอยู่ ดังนั้น ในที่นี้จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
ลักษณะของผลงานทางวิชาการที่ดี ควรมีองค์ประกอบที่สำคัญตามลำดับ คือ มีความถูกต้อง ใหม่ และนำไปใช้ประโยชน์ได้ ถ้าองค์ประกอบแรกไม่มีแล้ว องค์ประกอบหลังก็มีไม่ได้ นั่นคือ ถ้าความรู้ที่ได้จากผลงานทางวิชาการผิดแล้ว แม้จะใหม่ก็นำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้เลย หรืออาจกลายเป็นโทษด้วย
การทำผลงานทางวิชาการ จะสำเร็จเพียงใดหรือล้มเหลวขึ้นอยู่กับขั้นตอนทั้ง 4 ขั้น ดังกล่าวแล้ว ถ้ามีความมุ่งมั่น ตั้งใจ พยายามตามหลักวิชาการ อดทน พร้อมทั้งใช้เคล็ดลับเทคนิคต่าง ๆ จนชนะอุปสรรคที่พร้อมจะเกิดขึ้นได้ทั้ง 4 ขั้นตอนแล้ว ก็มีโอกาสประสบความสำเร็จ
การทำผลงานทางวิชาการ จะมีขั้นตอนคล้ายกับการทำสิ่งอื่นทั่วๆ ไป คือ ต้องคิดเพื่อตัดสินใจ เตรียมวางแผน ลงมือทำ และตรวจสอบด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยขั้นตอนแรก ๆ จะส่งผลต่อขั้นตอนอื่น ๆ นั่นคือ
ขั้นตอนการคิดเป็นขั้นตอนแรกของการทำผลงานทางวิชาการ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อตัดสินใจเลือกองค์ประกอบต่าง ๆ ที่จะทำ โดยมีเคล็ดลับและเทคนิคต่าง ๆ 18 ประการ ซึ่งได้กล่าวโดยสรุปไว้บ้างแล้วในบทความข้างต้น สำหรับบทความนี้ จะกล่าวถึงรายละเอียดของแต่ละเคล็ดลับ : เทคนิคต่าง ๆ พร้อมทั้งยกตัวอย่างจากประสบการณ์หรือเปรียบเทียบกับเรื่องราวต่าง ๆ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น เรียงตาม ลำดับเคล็ดลับ: เทคนิคในขั้นตอนการคิด ดังนี้
การทำผลงานทางวิชาการ เมื่อผ่านขั้นตอนคิดเพื่อตัดสินใจในประเด็นที่เกี่ยวข้องได้ครบแล้ว ต่อมาก็เป็นขั้นตอนการเตรียม ซึ่งมีเคล็ดลับและเทคนิคต่าง ๆ 18 ประการ เท่ากับในขั้นตอนการคิด ซึ่งในขั้นตอนนี้ถ้ามีการเตรียมการตามเคล็ดลับ : เทคนิค จะเอื้อต่อขั้นตอนการทำและการตรวจต่อไปได้มาก เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด สำหรับในบทความนี้จะกล่าวถึงรายละเอียดของแต่ละเคล็ดลับ : เทคนิค พร้อมทั้งยกตัวอย่างจากประสบการณ์ หรือเปรียบเทียบกับเรื่องราวต่าง ๆเพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นเช่นเดียวกับบทที่แล้ว โดยเรียงตามลำดับแต่ละเคล็ดลับ : เทคนิคในขั้นตอนการเตรียม ดังนี้
เคล็ดลับ : เทคนิคในขั้นตอนการทำ
ขั้นตอนการทำ ถือเป็นขั้นตอนที่ผู้ทำผลงานทางวิชาการต้องใช้เวลามากที่สุด จึงมีเคล็ดลับ : เทคนิคต่าง ๆมากกว่าขั้นตอนอื่น ๆ เท่าที่รวบรวมได้มีถึง 34 ประการ ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการเขียน เริ่มตั้งแต่ลงมือทำหรือลงมือเขียน โดยใช้เคล็ดลับ : เทคนิคต่าง ๆ ประกอบ จนกระทั่งเขียนเสร็จ เพื่อเตรียมนำไปสู่ขั้นตอนการตรวจต่อไป สำหรับในบทนี้ก็เช่นเดียวกับบทก่อน ๆ คือ จะกล่าวถึงเคล็ดลับ : เทคนิคแต่ละประการ พร้อมทั้งยกตัวอย่าง จากประสบการณ์ หรือเปรียบเทียบกับเรื่องราวหรือเหตุการณ์ ต่าง ๆ เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น เรียงตามลำดับ ดังนี้
ขั้นตอนการตรวจผลงานทางวิชาการ ได้จัดเป็นขั้นตอนสุดท้าย ก่อนที่จะนำเสนอแก่ผู้เกี่ยวข้องตามลำดับ ในขั้นตอนนี้มีเคล็ดลับ : เทคนิค 17 ประการ ส่วนใหญ่เป็นเคล็ดลับ : เทคนิคในการตรวจสอบด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงให้ผลงานมีคุณภาพ ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงราย ละเอียดของแต่ละเคล็ดลับ : เทคนิค พร้อมทั้งยกตัวอย่างจากประสบการณ์ หรือเปรียบเทียบกับเรื่องราวต่าง ๆ เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น เช่นเดียวกับขั้นตอนอื่น ๆ ในการทำผลงานทางวิชาการ โดยนำเสนอเรียงตามลำดับ ดังนี้
บทความนี้จะนำเสนอสาระเกี่ยวกับผลงานทางวิชาการ ในฐานะที่เกี่ยวข้องโดยเป็นทั้งผู้ที่เคยเสนอผลงาน และผู้ทรงคุณวุฒิตรวจผลงานทางวิชาการประเภทต่าง ๆ เป็นผู้สอนและที่ปรึกษานักศึกษาระดับปริญญาโท – เอก รวมทั้งเป็นวิทยากรให้คำแนะนำแก่ผู้ทำผลงานทางวิชาการ จึงจะนำเสนอสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลงานทางวิชาการมีข้อบกพร่อง 3 สาเหตุ คือ 1) ยึดแบบมากกว่ายึดหลัก 2) ไม่ได้ทำจริง และ 3) ไม่ได้ทำเอง ดังนี้