[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
เว็บไซต์เพื่อการเรียนรู้เรื่องวิจัย ประเมินโครงการ และผลงานทางวิชาการ โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเลื่อนวิทยฐานะ

ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
Your IP 34.229.131.158   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
หลักสูตรฝึกอบรม
เว็บลิงค์น่าสนใจ
สถิติผู้เยี่ยมชม

 เริ่มนับ 11/ส.ค./2556
ผู้ใช้งานขณะนี้  IP
ขณะนี้
คน
สถิติวันนี้
คน
สถิติเมื่อวานนี้ี้
คน
สถิติเดือนนี้
คน
สถิติปีนี้
คน
สถิติทั้งหมด
คน
IP ของท่านคือ 34.229.131.158
(Show/hide IP)
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 314 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน

  

  หมวดหมู่ : บทความทางวิชาการ
เรื่อง : ผลงานทางวิชาการมีกี่ประเภท
โดย : admin
เข้าชม : 3943
อาทิตย์ ที่ 11 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2556 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

ผลงานทางวิชาการมีกี่ประเภท

     การแบ่งประเภทของผลงานทางวิชาการ อาจมีจำนวนประเภทต่างกันไปตามที่หน่วยงานกำหนดขึ้น บางหน่วยงานก็กำหนดไว้หลายประเภท เช่น เอกสารประกอบ การสอน ตำรา หนังสือ งานวิจัย งานประเมิน งานแปล และสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งบางประเภทมีความคล้ายคลึงกันอยู่ ดังนั้น ในที่นี้จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ ประเภทที่มีลักษณะเป็นงานวิจัย เช่น งานวิจัยเชิงสำรวจ งานวิจัยและพัฒนา และงานวิจัยชั้นเรียน เป็นต้น ประเภทที่มีลักษณะเป็นงานประเมิน เช่น งานประเมินโครงการ งานประเมินหลักสูตร และงานประเมินองค์การ เป็นต้น ซึ่งบางหน่วยงานก็อาจจัดงานประเมินเป็นงานวิจัยประเภทหนึ่ง เรียกว่า งานวิจัยประเมินผล ประเภทที่มีลักษณะเป็นหนังสือ เช่น หนังสือตำรา เอกสารประกอบการสอน เอกสารงานแปล และบทความ เป็นต้น ประเภทสุดท้าย คือ งานประดิษฐ์ เช่น นวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เป็นต้น
ผลงานทางวิชาการแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันบ้าง โดยสรุปคือ งานวิจัยจะเริ่มได้ช้าคือหาเรื่องหรือหัวข้อที่จะทำวิจัยได้ยาก จึงมักได้ยินคำกล่าวจากผู้ที่ต้องทำวิจัย โดยเฉพาะนักศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก อยู่เสมอว่า ได้หัวข้อวิจัยแล้วหรือยัง” ผู้ที่มีหัวข้อแล้วก็ตอบด้วยความภาคภูมิใจ ผู้ที่ยังไม่มีก็ไม่อยากจะพูดถึง แม้ว่าจะได้หัวข้อแล้วก็ใช่ว่าจะปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ อาจมีปัญหาอื่น ๆ ได้อีกเสมอ โดยเฉพาะการวิจัยและพัฒนา หรือการวิจัยชั้นเรียนที่ต้องคิดค้นนวัตกรรมขึ้น โดยอาจเป็นวัตถุหรือเทคนิคกระบวนการต่าง ๆ แต่ก็พออุ่นใจได้บ้าง พูดง่าย ๆ ก็คือถ้ายังไม่มีหัวข้อวิจัยก็ยังไม่รู้ว่าจะทำอะไร ก็ต้องเครียดต่อไป หรือถ้าไม่ถูกบังคับด้วยเหตุต่าง ๆ ก็อาจตัดไฟแต่ต้นลม คือ ไม่ทำเสียเลย แต่ถ้าได้หัวข้อที่ชัดเจนแล้ว การทำในขั้นต่อ ๆ ไปจะมีกรอบหรือระเบียบวิธีวิจัยกำหนดไว้ ไม่ยากเท่ากับการเริ่มต้น เข้าทำนองเป็นม้าตีนปลาย เพียงแต่ว่าเมื่อทำเสร็จแล้ว ถ้าจะทำใหม่ก็ต้องหาเรื่องหรือหัวข้อใหม่อีกทุกครั้ง
ส่วนงานประเมินจะแตกต่างกับงานวิจัย คือ เริ่มได้เร็วมาก นั่นคือ ถ้ามีสิ่งที่จะประเมินไม่ว่าจะเป็นโครงการ หลักสูตร ฯลฯ ก็มีเรื่องที่จะประเมินทันที ยิ่งใช้รูปแบบการประเมินซึ่งเปรียบเสมือนตัวช่วยด้วยแล้วก็ยิ่งเร็ว แต่จะช้าตอนปลายโดยเฉพาะตอนคิดตัวชี้วัดและเกณฑ์ บางครั้งอาจต้องล้มเลิกกลางคัน เนื่องจากระเบียบวิธีประเมินยังไม่ชัดเท่าการวิจัย เข้าทำนองเป็นม้าตีนต้น อย่างไรก็ตามงานประเมินมีจุดเด่นอยู่ 2 ประการ ประการแรก คือ ทำเป็นแล้วเป็นเลย เหมือนกับหัดขี่จักรยานหรือว่ายน้ำ นั่นคือทำซ้ำโครงการเดิมก็ได้ ประการที่สองคือ ยังมีผู้ทำน้อยกว่าวิจัยมาก หรือพูดง่าย ๆ คือ แทบไม่มีคู่แข่งนั่นเอง
ถ้าจะเปรียบเทียบ ประเภทของผลงานทางวิชาการ ระหว่างงานวิจัยกับงานประเมินแล้ว ลองนึกถึงว่ามีคน 2 คน อยู่ที่ชายหาดจะเดินทางไปเกาะ คนชื่อประเมินเห็นเกาะที่จะไปทันที ลงเรือไปได้เลย เพียงแต่เมื่อถึงกลางทะเลคลื่นลมแรง ไม่รู้ว่าจะไปถึงหรือเปล่าต้องพยายามเพิ่มขึ้น ถ้าเรือไม่ล่มเสียก่อน ไปถึงแล้วคราวหลังจะรู้ร่องน้ำไปเกาะเดิมได้อีกโดยง่าย ในขณะที่คนชื่อวิจัยต้องใช้กล้องส่องทางไกลเพื่อหาเกาะที่จะไปเสียก่อน กว่าจะพบก็ต้องใช้เวลานาน แต่เมื่อพบแล้วส่วนใหญ่จะเดินทางโดยไม่ลำบาก ถึงเกาะได้ปลอดภัย เพียงแต่ถ้าจะไปอีกต้องหาเกาะใหม่ทุกครั้ง ห้ามไปเกาะเดิมหรือเกาะที่คนเคยไปแล้วก็ไม่ได้ นั่นคือวิจัยห้ามทำเรื่องซ้ำนั่นเอง
สำหรับงานวิชาการประเภทหนังสือ จะอยู่กลางๆ คือไปเรื่อย ๆ เริ่มได้ไม่ช้าเหมือนงานวิจัย แต่ก็ไม่เร็วเหมือนงานประเมินคือไปเรื่อย ๆ ที่ยากคือต้องให้มีความใหม่หรือเนื้อหาใหม่บ้าง และบางครั้งนอกจากจะทำผลงานประเภทเขียนหนังสือหรือตำราแล้ว อาจต้องทดลองใช้และรายงานผลในลักษณะงานวิจัยด้วยก็มี เพียงแต่ความเข้มข้นของเนื้อหาอาจจะน้อยกว่าการทำผลงานทางวิชาการ ประเภทที่เป็นหนังสือเฉพาะ จัดให้เป็นนวัตกรรมในงานวิจัย ซึ่งจะกล่าวต่อไป
ผลงานวิชาการประเภทสุดท้าย คือ นวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ซึ่งต้องนำไปทดลองใช้และรายงานผลการทดลอง โดยอาจเป็นรายงานการใช้นวัตกรรมหรือเป็นลักษณะรายงานการวิจัยดังกล่าวแล้ว ถ้าเป็นวิจัยชั้นเรียนหรือวิจัยและพัฒนาในทางการศึกษา นวัตกรรมที่คิดขึ้นบางชนิด อาจมีลักษณะใกล้เคียงกับผลงานทางวิชาการประเภทหนังสือ แต่อาจทำโดยมีเนื้อหาเพียงบางส่วนของรายวิชาแทนที่จะทำครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด หรืออาจมีลักษณะที่ต่างจากประเภทหนังสือ คือ เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ไม่ใช่ เอกสาร เช่น หุ่นยนต์ หรือของเล่นต่าง ๆ เป็นต้น
จากที่กล่าวมา เกี่ยวกับประเภทของผลงานทางวิชาการ แบ่งได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ งานวิจัยซึ่งเริ่มได้ช้าแต่เร็วปลาย งานประเมินเริ่มได้เร็วช้าปลายแต่ทำซ้ำได้ หนังสือจะอยู่กึ่งกลางระหว่างงานวิจัยและประเมิน ส่วนนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ต้องมีการทดลองใช้ และอาจต้องรายงานในลักษณะงานวิจัยหรือไม่ก็ได้
 






Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทความทางวิชาการ5 อันดับล่าสุด

      เอกสารที่เกี่ยวข้อง : การค้นคว้า รวบรวม เรียบเรียง สรุป วิเคราะห์ และสังเคราะห์ 11/ส.ค./2556
      ผลงานทางวิชาการ คืออะไร 11/ส.ค./2556
      ผลงานทางวิชาการมีกี่ประเภท 11/ส.ค./2556
      ผลงานทางวิชาการที่ดีเป็นอย่างไร 11/ส.ค./2556
      ความสำเร็จ : ล้มเหลวในการทำผลงานทางวิชาการ 11/ส.ค./2556