PITSANU.NET : การจัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะชำนาญการ, ชำนาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญ

head images blog

     หนังสือวิจัยชั้นเรียน : หลักการและเทคนิคปฏิบัติ เล่มนี้ มีขนาด A4 เล็ก (19 x 26 ซม.) จำนวน 254 หน้า พิมพ์ครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม 2549 ปัจจุบันได้พิมพ์เป็นครั้งที่ 10 เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2558

 content 1

 

 


     หนังสือเล่มนี้ เหมาะสำหรับครูนำไปใช้เป็นแนวทางในการทำวิจัยชั้นเรียนของตนได้อย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากปัจจุบันครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่สุดในการทำวิจัยชั้นเรียนควบคู่ไปกับการสอนตามปกติ มีโอกาสจะได้รับความสำเร็จสูงเพราะเป็นสิ่งที่ครูต้องการ พร้อมทั้งมีความรู้ในเรื่องที่จะทำ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้เรียนโดยตรงและเอื้อต่อตัวครูเองที่จะได้พัฒนา การปฏิบัติงานของตนและเพิ่มวิทยฐานะได้
     นอกจากครูแล้ว ผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาสามารถนำไปปรับใช้กับการวิจัยและพัฒนาของตนได้ รวมทั้งนิสิตนักศึกษาก็สามารถนำไปใช้ประกอบการเรียนในรายวิชานี้หรือวิชาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยได้ ตลอดจนผู้สอนก็นำไปใช้เป็นตำราเรียนในรายวิชาที่รับผิดชอบได้ โดยเนื้อหาของหนังสือมี 10 บท และส่วนประกอบอื่น ๆ ตั้งแต่บทเรื่องพื้นฐานจนกระทั่งการเขียนเค้าโครงการและรายงานการวิจัย ซึ่งมีเนื้อหาหลักตามบทต่าง ๆ และรายละเอียดของแต่ละบท ดังนี้


บทที่ 1 บทนำสู่การวิจัยชั้นเรียน ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับการวิจัยชั้นเรียน ตั้งแต่
1.1 ความหมาย
1.2 ข้อดี ข้อเสีย
1.3 ความเป็นทางการ
1.4 จุดมุ่งหมาย
1.5 ประเภทการวิจัย
1.6 ขั้นตอนการวิจัย
1.7 ความแตกต่างระหว่างการวิจัยกับการวิจัยชั้นเรียน
1.8 สรุปเนื้อหาของบท
บทที่ 2 การสำรวจและกำหนดปัญหาเพื่อเตรียมเรื่องวิจัย ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
2.1 ความหมายของปัญหา
2.2 แหล่งที่มาของปัญหาในการทำวิจัยชั้นเรียน
2.3 ขอบข่ายปัญหา
2.4 แนวทางการเลือกปัญหา
2.5 การสำรวจปัญหาเพื่อเตรียมทำวิจัยชั้นเรียน
2.6 การพิจารณาระดับปัญหา
2.7 ตัวอย่างแนวทางการสำรวจและเลือกปัญหาเพื่อเตรียมทำวิจัยชั้นเรียน
2.8 การตั้งคำถามวิจัย
2.9 การค้นหาสาเหตุของปัญหาและวิธีแก้
2.10 ตัวอย่างแนวทางการค้นหาสาเหตุของปัญหาและวิธีแก้
2.11 ตัวอย่างแนวทางการตั้งชื่อเรื่อง กำหนดวัตถุประสงค์ และตั้งสมมุติฐาน
2.12 สรุปเนื้อหาของบท
บทที่ 3 การศึกษาและทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
3.1 จุดมุ่งหมายในการศึกษาและทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง
3.2 แหล่งของเอกสารที่เกี่ยวข้อง
3.3 หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
3.4 ระยะเวลาที่ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
3.5 จรรยาบรรณของนักวิจัยในการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
3.6 การนำเสนอผลการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
3.7 ตัวอย่างแนวทางการกำหนดเนื้อหาที่ควรค้นคว้า
3.8 ตัวอย่างแนวทางการจัดกลุ่มเนื้อหาหลักและรอง
3.9 ตัวอย่างแนวทางการค้นคว้าเนื้อหาที่ใช้กันมากในงานวิจัยชั้นเรียน
3.10 สรุปเนื้อหาของบท
บทที่ 4 นวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาความรู้และทักษะ ประกอบด้วย
4.1 แนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรม เกี่ยวกับ
- ความหมายของนวัตกรรม
- ประโยชน์ของนวัตกรรม
- ลักษณะของนวัตกรรมที่เหมาะสม
- แหล่งที่มาของนวัตกรรมที่เหมาะสม
- วิธีคิดนวัตกรรม
- ขั้นตอนการสร้างและพัฒนานวัตกรรม
- ประเภทของนวัตกรรม
4.2 นวัตกรรมที่ใช้แก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียนด้านความรู้และทักษะ เกี่ยวกับ
- นวัตกรรมที่นิยมใช้
- ตัวอย่างแนวทางการใช้นวัตกรรมโดยพิจารณาจากปัญหา และสาเหตุของผู้เรียน
- ตัวอย่างแนวทางการใช้นวัตกรรมโดยพิจารณาจากพัฒนาการ หรือวัยของผู้เรียน
- ตัวอย่างข้อดี ข้อเสียของนวัตกรรม
4.3 สรุปเนื้อหาของบท
บทที่ 5 นวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาจิตใจ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
5.1 ความหมายของการปรับพฤติกรรม
5.2 ลักษณะของการปรับพฤติกรรม
5.3 ความเข้าใจผิดบางประการเกี่ยวกับการปรับพฤติกรรม
5.4 บทบาทของครูในการปรับพฤติกรรม
5.5 เทคนิคในการปรับพฤติกรรม
5.6 สรุปเนื้อหาของบท
บทที่ 6 การกำหนดตัวแปรและการตั้งสมมุติฐาน ประกอบด้วย
6.1 ตัวแปร โดยกล่าวถึงเนื้อหาเกี่ยวกับ
— ความหมายของตัวแปร
— ประเภทของตัวแปร
— ความผิดพลาดในการกำหนดตัวแปร
— การกำหนดกรอบแนวคิด
— การวัดตัวแปร
6.1 สมมุติฐาน ซึ่งกล่าวถึงเนื้อหาเกี่ยวกับ
— ความหมายของสมมุติฐาน
— ประเภทของสมมุติฐาน
— ประโยชน์ของสมมุติฐาน
— แหล่งที่มาของสมมุติฐาน
— หลักเกณฑ์ในการตั้งสมมุติฐาน
6.3 สรุปเนื้อหาของบท
บทที่ 7 การเลือกแบบวิจัยและกำหนดตัวอย่าง ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
7.1 ความหมายของแบบวิจัย
7.2 จุดมุ่งหมายในการเลือกแบบวิจัย
7.3 หลักเกณฑ์ในการเลือกแบบวิจัย
7.4 แบบวิจัยเชิงทดลอง
7.5 แบบวิจัยเชิงทดลองที่ใช้กันมากในการวิจัยชั้นเรียน ซึ่งมี 2 แบบใหญ่ ๆ คือ
— แบบวิจัยที่นิยมใช้กรณีทดลองกลุ่มเดียวหรือคนเดียว
— แบบวิจัยที่นิยมใช้กรณีทดลอง 2 กลุ่ม
7.6 การกำหนดตัวอย่าง ซึ่งมี 2 ประเภท คือ
— การสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหลักความน่าจะเป็น
— การเลือกตัวอย่างโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น
7.7 สรุปเนื้อหาของบท
บทที่ 8 การประเมินเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
8.1 ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือและการเก็บข้อมูล
8.2 ประเภทของเครื่องมือ
8.3 ลักษณะที่ดีของเครื่องมือ
8.4 หลักการและขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
8.5 หลักการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
8.6 การเก็บรวบรวมข้อมูล
8.7 สรุปเนื้อหาของบท
บทที่ 9 การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
9.1 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับ
— ความหมายของสถิติ
— สถิติที่ใช้กันมากในการวิจัยชั้นเรียน ได้แก่
— สถิติบรรยาย
— สถิติสำหรับเปรียบเทียบหรือทดสอบสมมุติฐาน
— สถิติที่ใช้หาคุณภาพเครื่องมือ
— สถิติที่ใช้หาคุณภาพนวัตกรรม
9.2 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยไม่ใช้สถิติ โดยกล่าวถึง
— ระดับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
— ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
9.3 สรุปเนื้อหาของบท
บทที่ 10 การเขียนเค้าโครงและรายงานการวิจัย ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
10.1 เค้าโครงการวิจัย โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับ
— โครงสร้างและเค้าโครงการวิจัย
— ตัวอย่างแนวทางการเขียนเค้าโครงวิจัย
10.2 รายงานการวิจัย มีเนื้อหาเกี่ยวกับ
— ความสำคัญของรายงานการวิจัย
— ลักษณะทั่วไปของรายงานการวิจัย
— โครงสร้างของรายงานการวิจัยอย่างเป็นทางการ
— แนวทางการเขียนรายงานการวิจัยอย่างเป็นทางการ
— แนวทางการเขียนรายงานการวิจัยอย่างไม่เป็นทางการ
— การปรับปรุงร่างรายงานการวิจัย
10.3 สรุปเนื้อหาของบท
ภาคผนวก ประกอบด้วยสาระที่เกี่ยวข้อง 5 ส่วน ดังนี้
ภาคผนวก ก ตัวอย่างชื่องานวิจัยและงานวิจัยชั้นเรียนที่ใช้นวัตกรรมใน
กลุ่มแก้ปัญหาหรือพัฒนาด้านความรู้ ทักษะ และด้านจิตใจ
ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 - 2549
ภาคผนวก ข ตัวอย่างบทคัดย่องานวิจัยที่ใช้นวัตกรรมในกลุ่มแก้ปัญหาหรือ
หรือพัฒนาด้านความรู้ ทักษะ และด้านจิตใจ
ภาคผนวก ค ตัวอย่างรายการวิจัยชั้นเรียนหน้าเดียวและเพื่อเสนอในที่ประชุม
ภาคผนวก ง ตัวอย่างเครื่องมือวัดด้านจิตใจ
ภาคผนวก จ ตารางค่าสถิติต่าง ๆ