PITSANU.NET : การจัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะชำนาญการ, ชำนาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญ

head images blog

     หนังสือการสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัยเล่มนี้มีขนาด A4 เล็ก (19 x 26 ซม.) จำนวน 421 หน้า พิมพ์ครั้งแรกเมื่อเดือนสิงหาคม 2552 และพิมพ์ครั้งที่ 4 เมื่อเดือน มีนาคม 2557

 content 1

 

หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับผู้วิจัย ผู้ประเมิน นิสิตและนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์นำไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัยหรือประเมินให้สอดคล้องกับงานที่ทำ หรือใช้ประกอบการเรียนในรายวิชาเกี่ยวกับการวิจัย การประเมินรวมทั้งการสร้างและพัฒนาเครื่องมือก็ได้ โดยนำเสนอสาระของเครื่องมือซึ่งนิยมใช้กันมากในงานวิจัยและประเมิน รวมทั้งส่วนที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ
เนื้อหาของหนังสือประกอบด้วย 5 ส่วน คือ คิด ทำ ใช้ สรุป และ ตัวอย่าง โดยส่วนแรกเป็นความรู้พื้นฐานหรือการคิด ประกอบด้วย บทที่ 1 – 4 ส่วนที่สองเป็นการสร้างและพัฒนาหรือการทำ ประกอบด้วย บทที่ 5 – 8 ส่วนที่สามเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือการใช้ คือ บทที่ 9 ส่วนที่สี่เป็นการสรุป คือ บทที่ 10 และส่วนที่ห้า คือ ภาคผนวก เป็นตัวอย่าง เครื่องมือต่าง ๆ ซึ่งแต่ละบทและภาคผนวกมีเนื้อหา ดังนี้
บทที่ 1 บทนำสู่การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
1.1 การวัด
1.2 ระดับการวัด
1.3 จุดมุ่งหมายของการวัด
1.4 การวัดทางสังคมศาสตร์
1.5 ข้อจำกัดในการวัดทางสังคมศาสตร์
1.6 ประเภทของเครื่องมือวัดทางสังคมศาสตร์
1.7 การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัยให้มีคุณภาพ
1.8 คุณภาพของเครื่องมือวิจัย
1.9 สถิติที่นิยมใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือ
1.10 สรุปเนื้อหาในบท
บทที่ 2 พฤติกรรมและแนวทางการวัด ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
2.1 ความหมายของพฤติกรรม
2.2 ปัจจัยที่ทำให้เกิดพฤติกรรม
2.3 ประเภทของพฤติกรรม
2.4 แนวทางการวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย
2.5 แนวทางการวัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย
2.6 แนวทางการวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย
2.7 ปัจจัยจากมนุษย์ที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการวัด
2.8 สรุปเนื้อหาในบท
บทที่ 3 การเลือกใช้เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
3.1 ความสำคัญของการเลือกใช้เครื่องมือวิจัย
3.2 ประเภทของเครื่องมือวิจัยแบ่งตามเกณฑ์ต่าง ๆ
3.3 การเลือกเครื่องมือให้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่จะวัด
3.4 การนำเครื่องมือของหน่วยงานหรือบุคคลอื่นมาใช้
3.5 การนำเครื่องมือของหน่วยงานหรือบุคคลอื่นมาปรับ
3.6 การสร้างและพัฒนาเครื่องมือขึ้นใหม่
3.7 สรุปเนื้อหาในบท
บทที่ 4 ข้อมูลและตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
4.1 ข้อมูล
4.2 ความหมายของข้อมูล
4.3 ประเภทของข้อมูล
4.4 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
4.5 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรวบรวมข้อมูล
4.6 ตัวอย่าง
4.7 ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับตัวอย่าง
4.8 ขั้นตอนการสุ่มหรือเลือกตัวอย่าง
4.9 ข้อดี ข้อเสียของการใช้ตัวอย่าง
4.10 ลักษณะของตัวอย่างที่ดี
4.11 การกำหนดขนาดตัวอย่าง
4.12 วิธีการสุ่มและเลือกตัวอย่าง
4.13 สรุปเนื้อหาในบท
บทที่ 5 การสร้างและพัฒนาแบบสอบ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
5.1 ประเภทของแบบสอบ
5.2 การสร้างและพัฒนาแบบสอบอัตนัย
5.3 การสร้างและพัฒนาแบบสอบชนิดถูก – ผิด
5.4 การสร้างและพัฒนาแบบสอบชนิดเติมคำ
5.5 การสร้างและพัฒนาแบบสอบชนิดจับคู่
5.6 การสร้างและพัฒนาแบบสอบชนิดเลือกตอบ
5.7 สรุปเนื้อหาในบท
บทที่ 6 การวิเคราะห์ข้อสอบ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
6.1 วิธีที่ไม่ใช้สถิติ
6.2 การตรวจสอบด้วยตนเองและผู้เกี่ยวข้อง
6.3 การปรับปรุงเบื้องต้น.
6.4 วิธีที่ใช้สถิติ
6.5 การตรวจโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาค่าความตรง
6.6 การปรับปรุงจากผลการตรวจของผู้เชี่ยวชาญ
6.7 การทดลองใช้เพื่อหาค่าความตรง (ถ้ามี) ความเที่ยง ความยาก
6.8 อำนาจจำแนก และประสิทธิภาพของตัวลวง
6.9 การปรับปรุงก่อนนำไปใช้จริง
6.10 สรุป
บทที่ 7 การสร้างและพัฒนาแบบสอบถาม ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
7.1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับแบบสอบถาม
7.2 องค์ประกอบของแบบสอบถาม
7.3 ประเภทของแบบสอบถาม
7.4 ลักษณะของแบบสอบถามที่ดี
7.5 แนวทางการสร้างและพัฒนาแบบสอบถาม
7.6 ตัวอย่างการสร้างและพัฒนาแบบสอบถามความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน
7.7 ตัวอย่างการสร้างและพัฒนาแบบสอบถามการอบรมเลี้ยงดู
7.8 ตัวอย่างการสร้างและพัฒนาแบบสอบถามความเหนื่อยหน่ายในการทำวิจัย
7.9 สรุป
บทที่ 8 การสร้างและพัฒนาแบบสังเกต แบบวัดทักษะปฏิบัติ แบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
8.1 แบบสังเกต
8.2 ประเภทของแบบสังเกต
8.3 แนวทางการสร้างและพัฒนาแบบสังเกต
8.4 ตัวอย่างการสร้างและพัฒนาแบบสังเกต
8.5 แบบวัดทักษะปฏิบัติ
8.6 ประเภทของแบบทักษะปฏิบัติ
8.7 แนวทางการสร้างและพัฒนาแบบวัดทักษะปฏิบัติ
8.8 ตัวอย่างการสร้างและพัฒนาแบบวัดทักษะปฏิบัติ
8.9 แบบสัมภาษณ์
8.10 ประเภทของแบบสัมภาษณ์
8.11 แนวทางการสร้างและพัฒนาแบบสัมภาษณ์
8.12 ตัวอย่างการสร้างและพัฒนาแบบสัมภาษณ์
8.13 สรุปเนื้อหาในบท
บทที่ 9 การเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
9.1 การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสอบและสอบถาม
9.2 การสอบ
9.3 การสอบถาม
9.4 การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกตและสัมภาษณ์
9.5 การสังเกต
9.6 การสัมภาษณ์
9.7 สรุปเนื้อหาในบท
บทที่ 10 บทสรุป : เทคนิค 32 ประการ สำหรับงานสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย
10.1 เทคนิคทั่วไป
10.2 เทคนิคในขั้นตอนการคิด
10.3 เทคนิคในขั้นตอนการทำ
10.4 เทคนิคในขั้นตอนการใช้
10.5 สรุปเนื้อหาในบท
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก ตัวอย่างเครื่องมือวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย
• ตัวอย่างแบบสอบชนิดเลือกตอบวิชาวิทยาศาสตร์
• ตัวอย่างแบบสอบอัตนัยวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์
• ตัวอย่างแบบสอบชนิดเลือกตอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
• ตัวอย่างแบบสอบโมดิฟายด์โคลซวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ
ภาคผนวก ข ตัวอย่างเครื่องมือวัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย
• แบบสังเกตทักษะนาฏศิลป์ไทยเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง
• แบบสังเกตประเมินค่าทักษะแบดมินตัน
• แบบสังเกตประเมินค่าทักษะการวิ่งผลัด 4 x100 เมตร
• แบบสังเกตทักษะการปฏิบัติกิจกรรมลูกเสือ
ภาคผนวก ค ตัวอย่างเครื่องมือวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย
• ตัวอย่างแบบสอบถามวัดปรีชาเชิงอารมณ์ตามหลักธรรมในพุทธศาสนา : สัปปุริสธรรม 7
• ตัวอย่างแบบสอบถามวัดคุณลักษณะการทำงานเป็นทีม
• ตัวอย่างแบบสอบถามวัดคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
• ตัวอย่างแบบสังเกตพฤติกรรมนิสัยรักการอ่าน สนใจ และแสวงหาความรู้
• ตัวอย่างแบบสอบถามวัดทักษะทางสังคม
• ตัวอย่างแบบสอบวัดพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์
• ตัวอย่างแบบสอบถามวัดเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์
• ตัวอย่างแบบสอบถามวัดความพึงพอใจที่มีต่องานบริการ
• ตัวอย่างแบบสอบถามวัดเจตคติที่มีต่อจริยธรรมทางธุรกิจ
• ตัวอย่างแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นที่มีต่อโครงการ

book7 7