หนังสือเทคนิควิธีประเมินโครงการเล่มนี้ มีขนาด A4 เล็ก (19 x 26 ซม.) จำนวน 436 หน้า พิมพ์ครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน 2549 ปัจจุบันได้พิมพ์เป็นครั้งที่ 8 เมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2556
หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีความสนใจ หรือมีประสบการณ์ในการประเมินโครงการมาบ้าง ได้ใช้เป็นแนวทางในการประเมินโครงการตามที่ต้องการได้อย่างเป็นรูปธรรมให้มากที่สุด ทั้งบุคลากรของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค หรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ โดยพยายามนำเสนอสาระต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนต่อเนื่องกัน เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจสำหรับผู้ต้องการจะเริ่มต้น สาระสำคัญของหนังสือเล่มนี้แบ่งเป็น 4 ตอน ตามลำดับ ดังนี้
ตอนที่ 1 จะกล่าวถึงแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการประเมินโครงการ มี 4 บท คือ บทที่ 1 เป็นบทนำสู่การประเมินโครงการ บทที่ 2 ว่าด้วยเรื่องโครงการ บทที่ 3 ได้นำสาระของทั้งสองบทมาเสนอร่วมกันเป็นเรื่องหลักการและแนวคิดการประเมินโครงการ บทที่ 4 เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการประเมินโครงการ คือการติดตามโครงการ
ตอนที่ 2 กล่าวถึงการเตรียมการประเมินโครงการตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน มี 4 บท โดยบทที่ 5 จะกล่าวเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์หรือประเด็นการประเมินและตัวชี้วัด บทที่ 6 เป็นการกำหนดเกณฑ์และค่าน้ำหนัก บทที่ 7 กล่าวถึงกรอบแนวคิดและขอบเขตการประเมิน บทที่ 8 ว่าด้วยเรื่องการสร้างและพัฒนาเครื่องมือในการประเมินโครงการ
ตอนที่ 3 เป็นการปฏิบัติการประเมินโครงการ ก็ประกอบด้วย 4 บทเช่นเดียวกัน โดยเริ่มด้วยบทที่ 9 เกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูล บทที่ 10 การวิเคราะห์ข้อมูล บทที่ 11 การเขียนรายงานการประเมินโครงการ และบทสุดท้าย คือ บทที่ 12 เป็นเรื่องการประเมินงานประเมิน
ตอนสุดท้ายคือ ตอนที่ 4 ซึ่งเป็นภาคผนวก จะเป็นส่วนประกอบในการประเมินโครงการโดยจะนำเสนอตัวอย่างเครื่องมือประเภทต่าง ๆ ที่ใช้ในการประเมินโครงการ เพื่อให้ผู้สนใจนำไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างหรือปรับเครื่องมือประเมินโครงการตามความต้องการให้เหมาะสมได้ต่อไป
สำหรับรายละเอียดของเนื้อหาในแต่ละตอนและบทต่าง ๆ มีดังนี้
ตอนที่ 1 แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการประเมินโครงการ มี 4 บท ดังนี้
บทที่ 1 บทนำสู่การประเมินโครงการ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
1.1 ความหมาย ลักษณะของการประเมินและคำศัพท์สำคัญที่เกี่ยวข้อง
1.2 แนวคิดของการประเมิน
1.3 เป้าหมายของการประเมิน
1.4 วิธีการประเมิน
1.5 ประเภทการประเมิน
1.6 พัฒนาการของการประเมิน
1.7 แนวโน้มของการประเมิน
1.8 ขั้นตอนการประเมิน
1.9 สรุปเนื้อหาและเอกสารอ้างอิงประจำบท
บทที่ 2 โครงการ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับโครงการตั้งแต่
2.1 ความหมายและลักษณะของโครงการ
2.2 ลำดับชั้นของโครงการ
2.3 ความสำคัญของโครงการ
2.4 ประโยชน์ของโครงการ
2.5 ข้อดีข้อเสียของการดำเนินงานในรูปโครงการ
2.6 ลักษณะของโครงการที่ดี
2.7 องค์ประกอบของโครงการ
2.8 แนวทางการเขียนโครงการ
2.9 ประเภทโครงการ
2.10 วงจรของโครงการ
2.11 ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของโครงการ
2.12 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของโครงการ
2.13 สรุปเนื้อหาและเอกสารอ้างอิงประจำบท
บทที่ 3 หลักการและแนวคิดการประเมินโครงการ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
3.1 ความหมายของการประเมินโครงการ
3.2 รูปแบบการประเมินโครงการ
3.3 รูปแบบการประเมินโครงการที่นิยมใช้และมีแนวโน้มจะได้รับความนิยม
3.4 ประเภทของการประเมินโครงการ ได้แก่ การประเมินก่อนดำเนินโครงการ /
การประเมินระหว่างดำเนินโครงการ / การประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการ
3.5 ขั้นตอนการประเมินโครงการ
3.6 สรุปเนื้อหาและเอกสารอ้างอิงประจำบท
บทที่ 4 การติดตามโครงการ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
4.1 ความหมายของการติดตามโครงการ
4.2 จุดมุ่งหมายของการติดตามโครงการ
4.3 ประโยชน์ของการติดตามโครงการ
4.4 องค์ประกอบของการติดตามโครงการ
4.5 เทคนิควิธีการติดตามโครงการ
4.6 ประเภทการติดตามโครงการ
4.7 ความสัมพันธ์ระหว่างการติดตามกับการประเมินโครงการ
4.8 ความแตกต่างระหว่างการติดตามกับการประเมินโครงการ
4.9 ขั้นตอนการติดตามโครงการ
4.10 ตัวอย่างแนวทางการติดตามโครงการ
4.11 สรุปเนื้อหาและเอกสารอ้างอิงประจำบท
ตอนที่ 2 การเตรียมการประเมิน มี 4 บท ดังนี้
บทที่ 5 การกำหนดวัตถุประสงค์หรือประเด็นการประเมินและตัวชี้วัด ประกอบ ด้วยเนื้อหาสำคัญ 2 ส่วน คือ
5.1 ประเด็นการประเมิน ซึ่งจะกล่าวถึงเกี่ยวกับ
— ความหมายและลักษณะของประเด็นการประเมิน
— แหล่งที่มาของประเด็นการประเมิน
— ตัวอย่างแนวทางในการกำหนดประเด็นการประเมิน
5.2 ตัวชี้วัด ซึ่งจะกล่าวถึงเกี่ยวกับ
— ความหมายและลักษณะของตัวชี้วัด
— ลักษณะของตัวชี้วัดที่ดี
— แหล่งที่มาของตัวชี้วัด
— ตัวอย่างแนวทางในการกำหนดตัวชี้วัด
5.3 สรุปเนื้อหาและเอกสารอ้างอิงประจำบท
บทที่ 6 การกำหนดเกณฑ์และค่าน้ำหนัก ประกอบด้วย
6.1 เกณฑ์การประเมิน เกี่ยวกับ
— ความหมายและลักษณะของเกณฑ์การประเมิน
— ระดับของเกณฑ์การประเมิน
6.2 ค่าน้ำหนักในการประเมิน เกี่ยวกับ
— ความหมายและลักษณะของค่าน้ำหนักในการประเมิน
— วิธีกำหนดค่าน้ำหนักในการประเมินโครงการ
6.3 ตัวอย่างการประเมินโครงการที่มีการกำหนดเกณฑ์ระดับต่าง ๆ และกำหนด
ค่าน้ำหนัก
6.4 สรุปเนื้อหาและเอกสารอ้างอิงประจำบท
บทที่ 7 การกำหนดกรอบแนวคิดและขอบเขตการประเมิน ประกอบด้วยเนื้อหา เกี่ยวกับ
7.1 กรอบแนวคิดการประเมิน
7.2 ตัวอย่างแนวทางการกำหนดกรอบแนวคิดการประเมิน ได้แก่
— ตัวอย่างแนวทางการกำหนดกรอบแนวคิดการประเมินระหว่างดำเนินโครงการ
— ตัวอย่างแนวทางการกำหนดกรอบแนวคิดการประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการ
7.3 ขอบเขตการประเมิน
7.4 ตัวอย่างแนวทางการกำหนดกรอบแนวคิดและขอบเขตการประเมิน ได้แก่
— ตัวอย่าง การกำหนดกรอบแนวคิดและขอบเขตการประเมินระหว่างดำเนินโครงการ
— ตัวอย่างการกำหนดกรอบแนวคิดและขอบเขตการประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการ
7.5 สรุปเนื้อหาและเอกสารอ้างอิงประจำบท
บทที่ 8 การสร้างและพัฒนาเครื่องมือ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
8.1 ระดับการวัด
8.2 ประเภทของเครื่องมือการประเมินโครงการ
8.3 ลักษณะที่ดีของเครื่องมือประเมินโครงการ
8.4 หลักการและขั้นตอนสร้างเครื่องมือประเมินโครงการ
8.5 หลักการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือประเมินโครงการ
8.6 สรุปเนื้อหาและเอกสารอ้างอิงประจำบท
ตอนที่ 3 การปฏิบัติการประเมิน มี 4 บท ดังนี้
บทที่ 9 การเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
9.1 ความหมายของข้อมูล
9.2 ประเภทของข้อมูล
9.3 ขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูล
9.4 วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่
— วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เน้นข้อมูลเชิงปริมาณ
— วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เน้นข้อมูลเชิงคุณภาพ
9.5 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรวบรวมข้อมูล
9.6 สรุปเนื้อหาและเอกสารอ้างอิงประจำบท
บทที่ 10 การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยเนื้อหา 2 ส่วนสำคัญ คือ
10.1 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ซึ่งกล่าวถึง
— ความหมายของสถิติ และ สถิติที่ใช้กันมากในการประเมินโครงการ ได้แก่
— สถิติบรรยาย
— สถิติอ้างอิง
— สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือ
— สถิติที่ใช้หาประสิทธิภาพนวัตกรรมหรือสิ่งที่พัฒนา
10.2 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยไม่ใช้สถิติ
10.3 สรุปเนื้อหาและเอกสารอ้างอิงประจำบท
บทที่ 11 การเขียนรายงานการประเมินโครงการ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
11.1 ลักษณะทั่วไปของรายงานการประเมินโครงการ
11.2 โครงสร้างของรายงานการประเมินโครงการ
11.3 สาระตามโครงสร้างของรายงานการประเมินโครงการ
11.4 การปรับปรุงร่างรายงานการประเมินโครงการ
11.5 ตัวอย่างรายงานการประเมินโครงการ
11.6 สรุปเนื้อหาและเอกสารอ้างอิงประจำบท
บทที่ 12 การประเมินงานประเมิน ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
12.1 ความหมายของการประเมินงานประเมิน
12.2 ลักษณะของการประเมินงานประเมิน
12.3 ประเภทของการประเมินงานประเมิน
12.4 แนวทางการประเมินงานประเมิน
12.5 ขั้นตอนการประเมินรายงานการประเมินโครงการ
12.6 ตัวอย่างแนวทางการประเมินรายงานการประเมินโครงการ
12.7 สรุปเนื้อหาและเอกสารอ้างอิงประจำบท
ตอนที่ 4 ส่วนประกอบในการประเมินโครงการ ประกอบด้วย
ภาคผนวก ก ตารางการแจกแจงแบบ t ที่ระดับนัยสำคัญต่าง ๆ
ภาคผนวก ข ตัวอย่างเครื่องมือในการประเมินโครงการ
— แบบสอบถามความต้องการของประชาชนเกี่ยวกับโครงการด้านสวัสดิการต่าง ๆ
จาก อบต.
— แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้รับผิดชอบที่มีต่อโครงการรวมพลังเพื่อพัฒนา
คุณภาพการศึกษาไทย
— แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุมและผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการรวม
พลังเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย
— แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมโครงการรวมพลังเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย
— แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้รับผิดชอบโครงการเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ
พัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP
— แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้ประกอบการที่มีต่อโครงการ OTOP
— แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจของลูกค้าผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ ที่มีต่อโครงการ OTOP
— แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และเกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณากรอบการประเมินโครงการ
ส่งเสริมกิจกรรมดนตรีไทย
— แบบสอบถามตรวจความตรงเชิงเนื้อหาและความถูกต้องด้านภาษาของเครื่องมือ
ประเมินโครงการส่งเสริมกิจกรรมดนตรีไทย
— แบบสอบถามครูดนตรีไทย เพื่อประเมินพัฒนาการด้านการจัดกิจกรรมดนตรีไทย
ในโครงการส่งเสริมฯ ดนตรีไทย
— แบบสอบถามครู เพื่อประเมินพัฒนาการด้านความรู้ ทักษะประสบการณ์ของ
นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมฯ ดนตรีไทย
— แบบสอบถามความพึงพอใจของคณะทำงานต่าง ๆ ที่มีต่อโครงการส่งเสริมฯ ดนตรีไทย
— แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้บริหารโรงเรียนที่มีต่อโครงการส่งเสริมฯ ดนตรีไทย
— แบบสอบถามความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการส่งเสริมฯ ดนตรีไทย
— แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการส่งเสริมฯ ดนตรีไทย
— แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อโครงการส่งเสริมฯ ดนตรีไทย