PITSANU.NET : การจัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะชำนาญการ, ชำนาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญ

head images blog

     หนังสือการเขียนรายงานประเมินโครงการเล่มนี้ มีขนาด A4 เล็ก (19 x 26 ซม.) จำนวน 163 หน้า พิมพ์ครั้งแรกเมื่อเดือนสิงหาคม 2550 ปัจจุบันได้พิมพ์เป็นครั้งที่ 7 เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2559

 content 1

 
หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับ ผู้ประเมินโครงการได้ใช้หรือนำไปปรับประกอบการเขียนรายงานให้สอดคล้องกับโครงการที่ประเมิน เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ให้ความสนใจในการประเมินโครงการกันมาก แต่ยังประสบปัญหาเรื่องเขียนรายงานตามหลักสากล นอกจากนี้ นักศึกษาหรือผู้สอนรายวิชาการประเมินหรือการประเมินโครงการ ก็สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอน และเขียนรายงานการประเมินโครงการ หรือทำวิทยานิพนธ์ได้
เนื้อหาของหนังสือประกอบด้วย แนวคิด หลักการ แนวทาง และตัวอย่างในการเขียนรายงานครอบคลุมตลอดทั้งเล่มตามโครงสร้างของรายงานประเมินโครงการ ตั้งแต่หน้าแรกของรายงาน เริ่มด้วยปกนอกจนกระทั่งหน้าสุดท้ายซึ่งเป็นประวัติผู้ประเมิน เพื่อให้อ่านและนำไปปรับใช้ได้สะดวกจึงเรียงเนื้อหาไปตามลำดับ 3 ส่วนสำคัญ คือ ส่วนประกอบตอนต้น ส่วนที่เป็นเนื้อหาทั้ง 5 บท และส่วนประกอบตอนท้ายของรายงานประเมินโครงการ โดยมีสาระ ในการเขียนครบทุกหัวข้อ รวมทั้งได้เสนอตัวอย่างโครงสร้างรายงานประเมินโครงการทั้งฉบับ ตลอดจนตัวอย่างกรอบแนวคิดการประเมิน และการกำหนดเกณฑ์การประเมิน 5 ระดับ ของตัวชี้วัด ประเด็นการประเมินและโครงการโดยภาพรวมไว้ในภาคผนวกด้วย ซึ่งแต่ละบทและส่วนประกอบอื่น ๆ มีรายละเอียดของเนื้อหา ดังนี้
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการประเมินโครงการ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
1.1 คำศัพท์สำคัญเกี่ยวกับการประเมินโครงการ
1.2 ขั้นตอนการประเมินโครงการ
1.3 เกณฑ์
1.4 ตัวชี้วัด
1.5 โครงสร้างรายงานการประเมินโครงการ
1.6 สรุปเนื้อหาของบท
บทที่ 2 การเขียนส่วนประกอบตอนต้น มีเนื้อหาเกี่ยวกับ
2.1 การเขียนชื่อเรื่องในปกนอกและส่วนอื่น ๆ
2.2 การเขียนบทสรุปสำหรับผู้บริหาร
2.3 การเขียนกิตติกรรมประกาศ
2.4 การเขียนสารบัญต่าง ๆ
2.5 การเขียนสารบัญตารางและสารบัญภาพ
2.6 การเขียนอ้างอิง
2.7 สรุปเนื้อหาของบท
บทที่ 3 การเขียนบทนำ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
3.1 การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
3.2 การเขียนวัตถุประสงค์การประเมิน
3.3 การเขียนความสำคัญหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
3.4 การเขียนกรอบแนวคิดการประเมิน
3.5 การเขียนขอบเขตการประเมิน
3.6 การเขียนข้อจำกัดในการประเมิน (ถ้ามี)
3.7 การเขียนนิยามศัพท์เฉพาะ
3.8 สรุปเนื้อหาของบท
บทที่ 4 การเขียนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
4.1 แนวคิดการเขียน
4.2 หลักการเขียน
4.3 แนวทางการเขียน
4.4 การเขียนสรุป ได้แก่
— การเขียนสรุปหัวข้อรอง
— การเขียนสรุปหัวข้อหลัก
— การเขียนสรุปทั้งบท
4.5 สรุปเนื้อหาของบท
บทที่ 5 การเขียนวิธีดำเนินการประเมิน ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
5.1 การเขียนขั้นตอนการประเมิน
5.2 การเขียนเรื่องประชากรและตัวอย่าง
5.3 การเขียนรูปแบบการประเมิน (ถ้ามี)
5.4 การเขียนเรื่องเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลหรือเครื่องมือในการประเมิน
5.5 การเขียนวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
5.6 การเขียนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
5.7 สรุปเนื้อหาของบท
บทที่ 6 การเขียนผลการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบเนื้อหาเกี่ยวกับ
6.1 แนวคิดการเขียนผลการวิเคราะห์ข้อมูล
6.2 หลักการในการเขียนผลการวิเคราะห์ข้อมูล
6.3 แนวทางการเขียนผลการวิเคราะห์ข้อมูล
6.4 ตัวอย่างการเขียน
6.5 สรุปเนื้อหาของบท
บทที่ 7 การเขียนสรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
7.1 การเขียนเกริ่นนำ
7.2 การเขียนสรุปผล
7.3 การเขียนอภิปรายผล
7.4 การเขียนข้อเสนอแนะ
7.5 สรุปเนื้อหาของบท
บทที่ 8 การเขียนส่วนประกอบตอนท้าย มีเนื้อหาเกี่ยวกับ
8.1 การเขียนบรรณานุกรม
8.2 การเขียนภาคผนวก
8.3 การเขียนประวัติผู้ประเมิน
8.4 สรุปเนื้อหาของบท
ภาคผนวก ประกอบด้วย
ภาคผนวก ก ตัวอย่างโครงสร้างรายงานการประเมินโครงการ
ภาคผนวก ข ตัวอย่างกรอบแนวคิดการประเมินโครงการ
ภาคผนวก ค ตัวอย่างการกำหนดเกณฑ์ 5 ระดับ ของตัวชี้วัด
ภาคผนวก ง ตัวอย่างการกำหนดเกณฑ์ 5 ระดับ ของประเด็นการประเมิน
และโครงการในภาพรวมโดยกำหนดเกณฑ์ให้มีช่วงเท่ากัน

book12 12