[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
เว็บไซต์เพื่อการเรียนรู้เรื่องวิจัย ประเมินโครงการ และผลงานทางวิชาการ โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเลื่อนวิทยฐานะ

ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
Your IP 34.229.131.158   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
หลักสูตรฝึกอบรม
เว็บลิงค์น่าสนใจ
สถิติผู้เยี่ยมชม

 เริ่มนับ 11/ส.ค./2556
ผู้ใช้งานขณะนี้  IP
ขณะนี้
คน
สถิติวันนี้
คน
สถิติเมื่อวานนี้ี้
คน
สถิติเดือนนี้
คน
สถิติปีนี้
คน
สถิติทั้งหมด
คน
IP ของท่านคือ 34.229.131.158
(Show/hide IP)
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 314 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน

  

  หมวดหมู่ : บทความทางวิชาการ
เรื่อง : ผลงานทางวิชาการที่ดีเป็นอย่างไร
โดย : admin
เข้าชม : 2957
อาทิตย์ ที่ 11 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2556 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

ผลงานทางวิชาการที่ดีเป็นอย่างไร
     ลักษณะของผลงานทางวิชาการที่ดี ควรมีองค์ประกอบที่สำคัญตามลำดับ คือ มีความถูกต้อง ใหม่ และนำไปใช้ประโยชน์ได้ ถ้าองค์ประกอบแรกไม่มีแล้ว องค์ประกอบหลังก็มีไม่ได้ นั่นคือ ถ้าความรู้ที่ได้จากผลงานทางวิชาการผิดแล้ว แม้จะใหม่ก็นำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้เลย หรืออาจกลายเป็นโทษด้วย ซึ่งในขณะเดียวกันแม้จะมีความถูกต้องแต่ไม่มีความใหม่ หรือมีความใหม่เล็กน้อยก็ใช้ประโยชน์ได้น้อยตามไปด้วย
ความถูกต้องถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุด ถ้าเป็นงานวิจัย เรียกว่า มีความตรงภายใน คือ ผลการวิจัย หรือความรู้จากการวิจัยถูกต้อง ถ้าเป็นการวิจัยและพัฒนาหรือวิจัยชั้นเรียนก็หมายถึงผลต่าง ๆ หรือตัวแปรตามที่เกิดขึ้นเป็นเพราะตัวแปรต้นหรือนวัตกรรมที่คิดเท่านั้น ไม่มีเหตุอื่นมาปะปน หรือไม่มีตัวแปรเกินตัวแปรแทรกเลย คล้ายกับคำพูดที่ว่า “ฉันเป็นอย่างนี้ เพราะคุณคนเดียว”
องค์ประกอบประการต่อมา คือ ความใหม่ นั่นคือผู้ทำผลงานควรแสดงถึงความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ด้วยการสังเคราะห์ เสนอความรู้ หรือสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมหรือวิธีการที่ทันสมัย เพิ่มความก้าวหน้าหรือต่อยอดความรู้เดิม ถ้าเป็นงานวิจัยก็ต้องคิดนวัตกรรมขึ้น หรืออย่างน้อยก็นำ มาปรับ ไม่ใช่เปลี่ยนเฉพาะกลุ่มตัวอย่าง ถ้าไม่มีความใหม่ความรู้ก็จะอยู่กับที่ไม่พัฒนา เหมือนดังคำกล่าวที่ว่า “เหล้าเก่าในขวดใหม่”
สุดท้ายคือ การนำความรู้จากผลงานทางวิชาการไปใช้ประโยชน์ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าความถูกต้องหรือความใหม่ ถ้าเป็นงานวิจัยจะเรียกว่ามีความตรงภายนอก คือนอกจากจะได้ความรู้แล้วยังใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติได้อีกด้วย ยิ่งใช้ได้กว้างขวางเท่าไรก็ยิ่งดีมีความคุ้มค่า งานวิจัยที่ไม่ได้นำไปใช้จะเรียกกันว่า “ขึ้นหิ้ง” หรือ “เสียของ” คือเหมือน “เท่ห์แต่กินไม่ได้” นั่นเอง
จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า ถ้าจะให้ผลงานวิชาการที่อุตส่าห์ทำขึ้นมีคุณภาพ สมดังความตั้งใจก็ควรทำตามหลักวิชา เพื่อให้ได้ทั้งความรู้ที่ถูกต้อง ใหม่ และทันสมัย สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งในปัจจุบันถ้าเป็นการทำผลงานทางวิชาการ เพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา จะให้ค่าน้ำหนัก คะแนนของผลงานทางวิชาการเท่ากัน ระหว่างความถูกต้อง และความใหม่ กับการนำไปใช้ประโยชน์ คือ ร้อยละ 50






Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทความทางวิชาการ5 อันดับล่าสุด

      เอกสารที่เกี่ยวข้อง : การค้นคว้า รวบรวม เรียบเรียง สรุป วิเคราะห์ และสังเคราะห์ 11/ส.ค./2556
      ผลงานทางวิชาการ คืออะไร 11/ส.ค./2556
      ผลงานทางวิชาการมีกี่ประเภท 11/ส.ค./2556
      ผลงานทางวิชาการที่ดีเป็นอย่างไร 11/ส.ค./2556
      ความสำเร็จ : ล้มเหลวในการทำผลงานทางวิชาการ 11/ส.ค./2556